✔ ข้อแตกต่างระหว่าง Server และ PC ที่ใช้ทำ Server
ในคอมพิวเตอร์ทางบ้านทั่วไป เราได้เห็น CPU แรงๆ อย่าง CPU Intel i7 ที่หลายคนคิดว่ามันแรงที่สุดในบรรดาล CPU ที่เคยรู้จักกันมาแล้ว แต่ในทาง Server จะมี CPU เฉพาะทางอย่าง Intel Xeon หรือ AMD Opteron แต่อย่างไรก็ตาม ในบางทีความแรง ของ Xeon กับ i7 นั้นจะไม่ค่อยแตกต่างกัน หรือบางที i7 ก็จะแรงกว่า ในบทความนี้จะพูดถึงความแตกต่างและการเลือกใช้ ของ CPU i7 กับ Xeon
✔ Server vs. PC
ภาพของ Desktop PC
ภาพของ Laptop PC หรือ Notebook
PC ก็คือคอมพิวเตอร์บ้านๆ ที่เราใช้กันทุกวันครับ การทำงานของเครื่องโดยพื้นฐานแล้วไม่ได้แตกต่าง Server เลยทำงานเป็นคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักดี เหมือนกันเลย แต่มันมีข้อแตกต่างการใช้งานครับ
PC ก็คือ PC หรือมันก็คือคอมพิวเตอร์บ้านๆ ใช้ในบ้าน วางในห้องนอนของเรา หรือโต๊ะทำงาน เปิดแล้วก็ต้องปิด ไม่งั้นก็อาจจะร้อนอุปกรณ์จนเสียหายได้ ซึ่งต่างจากเซิร์ฟเวอร์เลย
ภาพของ DELL Rack Server (1U)
ภาพของ DELL Tower Server
ภาพของ IBM Blade Server
Server ออกแบบมาเพื่อทำงาน 24 ชั่วโมง x 7 วัน ต่อสัปดาห์ หรือแทบไม่ปิดเลย CPU และอุปกรณ์ของ Server จะมีการออกแบบพิเศษให้มีความคงทนมากกว่าอุปกรณ์ของ PC ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD หรือแม้แต่ Power Supply และยังมีการออกแบบเพื่อให้ต้องทำงานได้ตลอดเวลา อย่าง Power Supply แบบ Redundant เพื่อป้องกันปัญหาอุปกรณ์จ่ายไฟเสียหาย และยังมีการออกแบบเรื่องความร้อนได้ดีกว่า หรือ สามารถทำงานภายใต้ความร้อนได้ดีกว่า ของ PC
✔ CPU i7
CPU Intel i7 เราเคยได้ยินมาบ่อยและมากที่สุดและเข้าใจว่าแรงที่สุดเช่นเดียวกัน แต่ทั้งหมดนั้นมันเป็นแค่ในฝั่งของ PC หรือคอมพิวเตอร์ทางบ้าน แต่ในทาง Server นั้น CPU Intel i7 เป็นทางเลือกรองๆ ต่อจาก CPU XEON ในด้านความแรงด้วยสาเหตุ เกี่ยวกับการออกแบบของตระกูล CPU
มาดูหน้ากล่องกันดีกว่า
เราจะเห็นว่า “Desktop” นั้นหมายถึง CPU สำหรับ Desktop ตามบ้านทั่วไป และมีข้อจำกัดต่างกับตระกูลของ Xeon ที่ใช้ใน Server
✔ CPU Xeon
CPU Xeon ในทางบ้านทั่วไป เราจะไม่ค่อยรู้จัก ตัวนี้เท่าไร แต่มันมีความแตกต่างในการออกแบบเพื่อใช้งานด้านเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นด้านความคงทน การโหลดหนักภายใต้ความร้อน และการทำงานแบบ 24 ชั่วโมง การรองรับแรมที่มากกว่า และ แรมในรูปแบบ พิเศษ
✔ ความแตกต่างระหว่าง i7 และ Xeon
ตรงนี้จะเป็นข้อมูลจาก http://www.velocitym…ats-difference/ครับ
ข้อดีของ i7
- Overclocking ใน CPU i7 จะเห็นว่ารุ่นที่ตามด้วย K จะเป็นรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อ Overclocking นั้นคือปลดล็อก CPU เพื่อให้การ Overclock เป็นไปได้อย่างง่ายดาย แค่เรามีระบบการระบายความร้อนกับการจ่ายไฟที่ดี เราก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย
- ความคุ้มค่าในแต่ล่ะ GHz (GHz ต่อ บาท) ถ้าเทียบกับ CPU ของเซิร์ฟเวอร์และความแรงใน GHz นั้นราคาจะถูกว่า Xeon มากเมื่อเทียบกันด้วยความคุ้มค่าต่อความแรงในการประมวลผล
- มี Onboard Graphic เพราะ i7 เป็น CPU ตามบ้านและตั้งใจทำให้ เราไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ไรมากมายในเวลาที่เราประกอบคอมเครื่องใหม่ เราสามารถใช้การ์ดจอที่อยู่บน CPU ได้ และความสามารถก็ถือว่า ใช้ได้ดี เลยทีเดียว
ข้อดีของ Xeon
- L3 cache ใน CPU Xeon ส่วนใหญ่จะมี Cache ในส่วนนี้มากกว่า i7 ถึง 2 เท่า ซึ่งจะช่วยในการประมวลผลได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับ i7
- รองรับ RAM ECC แรมรูปแบบนี้เป็นแรมที่จะตรวจสอบ Error ของข้อมูลในแรมและทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาจริงๆ ขึ้น ซึ่งแรมชนิดนี้จะช่วยให้ระบบมีความเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งแรมชนิดนี้ต้องรองรับมี CPU ที่รองรับด้วย
- มี Core ที่มากกว่า ใน Intel Xeon (E5) v3 รุ่น Top ที่สุดมี Core มากถึง 12 Core (24 Thread เมื่อใช้งาน Hyperthreading) เมื่อเทียบกับ i7 จะมีแค่ 8 Core เท่านั้นในรุ่นสูงสุดในปัจจุบัน
- รองรับการทำงาน 2 CPU ใน Intel Xeon E5 จะสามารถใช้ CPU ร่วมกันได้ใน 1 เครื่อง และผลที่ได้คือจำนวน Core CPU ที่เพิ่มขึ้น และ แรงขึ้น
- ความคงทน (ภายใต้โหลดหนักๆ) อย่างที่เคยอธิบายว่า Xeon นั้นถูกออกแบบมาเพื่อโหลดหนักๆ ได้เป็นเวลานาน เมื่อเทียบกับ i7 แล้ว Xeon จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับการโหลดหนักและจะทนกว่า i7 ในการทำงานเดียวกัน
- Hyperthreading ในราคาที่ถูกว่า ถึงยังไงก็ตาม Xeon จะมีราคาที่แพงกว่าก็จริง แต่เมื่อเทียบเรื่อง Hyperthreading จะมีราคาที่ถูกกว่า และถ้าเราต้องเลือกซื้อ CPU ที่รองรับการทำงานของโปรแกรมที่ใช้ Hyperthreading ทางเลือกที่ดีก็จะเป็น Xeon
✔ สรุป
ใน CPU i7 และ Xeon (e3) จะมีคู่ขนานกันในเรื่องความแรง ถึงจะไม่เสมอ แต่ก็จะช่วยให้เราเข้าใจความแรงของ Xeon ได้ง่ายขึ้นครับ และในการทำงานของ Server จำเป็นมากที่ต้องทำงานได้ตลอดเวลาโดยที่อุปกรณ์นั้นมีความคงทนและเสียหายได้ยากที่สุด Server ส่วนใหญ่ก็จะใช้ CPU Xeon ครับเพราะมีการออกแบบ CPU ให้สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงภายใต้การโหลดของ CPU หนัก (นั้นหมายความว่า Server ที่ใช้ CPU i7 ก็มีครับ)
นั้นหมายถึง Server ก็จะมีราคาที่สูงกว่า PC ในสเปคเดียวกัน แต่ความคงทนและการใช้พลังงานต่างกันแน่นอนครับ