Datacenter Tier?!! มันคืออะไร

สวัสดีครับ

 

วันนี้แมวได้ไปเจอสิ่งหนึ่ง ที่เว็บของ ISPIO ได้ระบุไว้ที่หน้าเว็บนั้นคือ “Tier 3 Datacenter” แล้วแมวก็ได้เกิดข้อสงสัยว่า

  1. Data Center มี Tier ด้วย
  2. Tier แต่ละขั้นเป็นยังไง

แมวจึงเปิด Google Search เลย แล้วไปหา Wikipedia เลยอยากจะมาเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อย เพราะมันไม่ค่อยมีการพูดถึงและความหมายของมันเท่าไร

 

เริ่มเลย

 

ในปี 2005 (2548) Telecommunications Industry Association ภายใต้การร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) ได้ออกมาตรฐานการสื่อสารสำหรับ Data Center และได้กำหนดไว้ 4 มาตรฐาน เรียกว่า Tier  (ANSI/TIA-942)

 

ในส่วนนี้ยังมีต่อแต่ จะไม่พูดถึงครับ แต่จะมาต่อที่ขั้น Tier เลย

 

ขั้นที่พื้นฐานที่สุดคือ Tier 1 โดยจะมีห้องเซิร์ฟเวอร์ (Server room) ดำเนินการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ถูกต้องและขึ้นสูงสุดคือ Tier 4 โดยระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องการความมั่นคงสูงโดย Data Center จะมีระบบ Redundant ทุกส่วนของระบบและมีระบบควบคุมการเข้าออกโดยลายนิ้วมือและยังรวมถึงระบบควบคุมความเย็นด้วยเช่นกัน

 

 

ความต้องการของ TIER 1

  • มีระบบจ่ายการทำงานอุปกรณ์ IT แบบไม่ Redundant
  • ระบบอุปกรณ์ที่ไม่เป็นแบบ Redundant
  • มีการบริหารจัดการต่างๆ ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.671%

ความต้องการของ TIER 2

  • มีคุณสมบัติตาม TIER 1 หรือ มากกว่า
  • มีการบริหารจัดการต่างๆ และความจุ ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.741%

ความต้องการของ TIER 3

  • มีคุณสมบัติตาม TIER 2 หรือมากกว่า
  • มีระบบจ่ายการทำงานอุปกรณ์ IT หลายส่วนทำงานแบบ Redundant
  • ทุกอุปกรณ์ IT ต้องเป็นรูปแบบ Dual-Powered (แหล่งจ่ายไฟ 2 จุด) และรองรับตามการออกแบบของแต่ล่ะที่
  • มีการบริหารจัดการต่างๆ และมีการปรับปรุ่งรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.982%

ความต้องการของ TIER 4

  • มีคุณสมบัติตาม TIER 3 หรือมากกว่า
  • ระบบทำความเย็นทั้งหมดทำงานสลับกันและ Dual-Powered, รวมถึงระบบหล่อเย็นและระบบทำความร้อน, ระบบระบายอากาศและระบบแอร์ (HVAC)
  • มีระบบต้องการผิดพลาดพร้อมกับระบบไฟฟ้าและระบบนำจ่ายต่างๆ ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.995%

 

 

ความต่างของ Uptime 99.671%, 99.741%, 99.982% และ 99.995% มันแทบไม่ต่างกันมากเลย แต่ถ้าคิดแบบว่าระบบที่ Down Time ได้ยากในรอบปี (525,600 นาที)

  • TIER 1 99.671% จะ Down Time ได้มากสุด 1729.224 นาที หรือ 28.817 ชั่วโมง (วันนิดๆ)
  • TIER 2 99.741% จะ Down Time ได้มากสุด 1361.304 นาที หรือ 22.688 ชั่วโมง (เกือบ 1 วัน)
  • TIER 3 99.982% จะ Down Time ได้มากสุด 94.608 นาที (ชั่วโมงครึ่ง)
  • TIER 4 99.995% จะ Down Time ได้มากสุด 26.28 นาที (ครึ่งชั่วโมง)

จะเห็นว่าเมื่อเทียบแล้วในแต่ละปิด กับระบบที่ Down ไม่ได้ถ้ามันสุดวิสัยจริงๆ ก็จะดับรวมๆ ได้ไม่เกินมาตรฐาน

Was this article helpful?

Related Articles